เมนู

ธรรม 4 ข้อเป็นมูล ก็ดี ปัญจมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม 5 ข้อเป็นมูลก็ดี
ฉมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม 6 ข้อเป็นมูลก็ดี สัตตมูลกนัย มีอุตริมนุ-
สธรรม 7 ข้อเป็นมูลก็ดี อัฏฐมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม 8 ข้อเป็นมูลก็ดี
นวมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรม 9 ข้อเป็นมูลก็ดี ทสมูลกนัย มีอุตริมนุส-
ธรรม 10 ข้อเป็นมูลก็ดี บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัย
ดังที่ให้พิสดารแล้วนั้นเถิด.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย มีอุตริมนุสธรรมทุกข้อเป็นมูล ดังต่อไปนี้:-

พัทธจักร สัพพมูลกนัย


[270] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว
เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-
สมาบัติ วิชชา 3 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล อรหัตผล ราคะข้าพะเข้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โทสะข้าพเจ้าสละแล้วคายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว โมหะข้าพเจ้าสละแล้วคายแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ จิตของ
ข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ด้วยอาการ 3 อย่าง
. . . 4 อย่าง . . . 5 อย่าง . . . 6 อย่าง . . . 7 อย่าง คือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3 ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ

แล้ว 4 อำพรางความเห็น 5 อำพรางความถูกใจ 6 อำพรางความชอบใจ
7 อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร สัพพมูลกนัย จบ
สุทธิกวารกถา จบ

ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ


[272] 1. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว
ดังนี้ แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ 3 อย่าง . . . 4
อย่าง . . . 5 อย่าง . . . 6 อย่าง . . . 7 อย่าง คือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3 ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้กล่าวเท็จ
แล้ว 4 อำพรางความเห็น 5 อำพรางความถูกใจ 6 อำพรางความชอบใจ
7 อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
2. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว . . .เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
3. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว . . . เมื่อ
คนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
4. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
5. ภิกษุรู้อยู่ . . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว . . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
6. ภิกษุรู้อยู่. . . แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว. . .
เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.